วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554






รายชื่อนักศึกษาระดับปวส.1 สทส.1
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปีภาคเรียนที่ 1/2554
ลำดับชื่อ-สกุลชื่อเว็บไซต์บล๊อก
1นายพงศกร นามสุดใจhttp://piingpong48.blogspot.com/
2นายศุภชัย กิยะแพทย์http://suppachai-artzii.blogspot.com/
3นายชินดนัย เสมอเหมือนhttp://promkcc.blogspot.com/
4นายธันวา ไชยเดชhttp://jonaja.blogspot.com/
5นายทศพร ไทยประดิษฐ์http://bigbill235.blogspot.com/
6นายอภิศักดิ์ กองศรีhttp://exromantic.blogspot.com/
7นายขันติ เข็มทองhttp://jojoget777.blogspot.com/
8นายภานุพันธุ์ ปราณีhttp://panupan32.blogspot.com/
9นายภูวเดช โสภณธนยศhttp://phuwadhej.blogspot.com/
10นายศรายุธ ปรีชาวินิจกุลhttp://ohlor.blogspot.com/

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วิชา โปรเเกรมคอมพิวเตอร์ 1

เเบบฝึกหัด บทที่ 1

วิชา สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์

เเบบฝึกหัด บทที่ 1

วิชาโปรเเกรมเว็บ 1

แบบฝึกหัดที่  1
ตอนที่ 1
1. อินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่าอย่างไร คืออะไร
ตอบ        อินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า เน็ตคือระบบเครือข่ายที่ให้ที่สุด ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องเข้าด้วยกัน จนเรียกได้ว่าเป็น เครือข่ายไร้พรมแดนโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่สะดวกและรวดเร็ว

2. ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ตมีลักษณะอย่างไร
ตอบ        ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ตจะอยู่ในลักษณะ ไคลเอนท์-เซิร์ฟเวอร์” (Client-Server) คือมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์คือ เครื่องแม่ข่ายหรือ ผู้ให้บริการกับเครื่องที่เป็นไคลเอนท์ คือ เครือลูกข่ายหรือผู้ขอใช้บริการที่การติดต่อสื่อสารกันตลอดเวลา ในการติดต่อสื่อสารจะมีชื่อที่อยู่เพื่อจะ ได้ทราบว่า ข้อมูลถูกส่งมาจากไหน และมีปลายทางอยู่ที่ใด ซึ่งชื่อที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตจะเรียกว่า ไอพี แอดเดรส” (IP Address) เป็นตัวเลขล้วน ๆ 4 ชุด แต่ละชุดมีค่าระหว่าง 0-255 ค้นด้วยจุด เช่น 202.146.15.9

3. “ไคเอนท์-เซิร์ฟเวอร์” (Client-Server)  คืออะไร
ตอบ        ไคลเอนท์-เซิร์ฟเวอร์” (Client-Server) คือมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์คือ เครื่องแม่ข่ายหรือ ผู้ให้บริการกับเครื่องที่เป็นไคลเอนท์ คือ เครือลูกข่ายหรือผู้ขอใช้บริการที่การติดต่อสื่อสารกันตลอดเวลา ในการติดต่อสื่อสารจะมีชื่อที่อยู่เพื่อจะ ได้ทราบว่า ข้อมูลถูกส่งมาจากไหน และมีปลายทางอยู่ที่ใด ซึ่งชื่อที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตจะเรียกว่า ไอพี แอดเดรส” (IP Address) เป็นตัวเลขล้วน ๆ 4 ชุด แต่ละชุดมีค่าระหว่าง 0-255 ค้นด้วยจุด เช่น 202.146.15.9
4. ชื่อที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตเรียกกันว่าอย่างไร พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ        ชื่อที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตจะเรียกว่า ไอพี แอดเดรส” (IP Address) เป็นตัวเลขล้วน ๆ 4 ชุด แต่ละชุดมีค่าระหว่าง 0-255 ค้นด้วยจุด เช่น 202.146.15.9
5. บอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตมาอย่างน้อย 5 อย่าง
ตอบ      1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้
             2. เทลเน็ต (Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้
             3. การโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
             4. การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้
             5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป (Newgroup) แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
             6. การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
             7. การซื้อขายสินค้าและบริการ (E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต
             8. การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง
6. ยกตัวอย่างภัยจากอินเทอร์เน็ตที่มีต่อเยาวชนไทยในปัจจุบันมา 3 ข้อ
ตอบ        1. สื่อลามกผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บบอร์ดลับส่งภาพหรือไฟล์ลามกผ่านทางอีเมล์
                2.  การแชท (Chat) สนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต
                3. การติดเกมส์ออนไลน์
                4. การกระทำพฤติกรรมที่ไม่มีเหมาะสมที่เรียกกันว่า” (Webcam) หรือโชว์สัดส่วนทางแคมฟร็อก (cam frog)

7. เวิล์ดไวต์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW หรือ W3) คืออะไร
ตอบ        เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW หรือ W3 หรือ Web) คือ บริการค้น
หรือเรียกดู ข้อมูลแบบหนึ่ง ในอินเทอร์เน็ต ข้อมูลในเวิลด์ไวด์เว็บ จะอยู่ในแบบสื่อผสม หรือ
มัลติมีเดีย (multimedia) ที่มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวแบบวิดีโอ
ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ แต่ละหน้าสามารถ เชื่อมโยงถึงกันได้
เป็นแบบเครือข่ายคล้ายใยแมงมุม จากแหล่งต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วโลก

8. รูปแบบของ FTP แบ่งได้เป็นกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ        รูปแบบของ FTP แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
                1. Download คือ การคัดลอกข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์หรือจากคอมพิวเตอร์อื่นมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ เช่น การดาวน์โหลดโปรแกรมหรือเกมส์จาก ผู้ผลิตมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ดังตัวอย่าง
               
                2. Upload คือ การคัดลอกข้อมูลในเครื่องของผู้ใช้ไปไว้ที่เซิร์ฟเวอร์หรือคอมพิวเตอร์อื่นเว็บเพจเสร็จแล้วต้อง เช่นการสร้าง Upload เว็บเพจ ไปไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายในอินเทอร์เน็ตเพื่อเผยแพร่ข้อมูล ดังตัวอย่าง

9. เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) หมายถึงอะไร
คอบ        เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) คือ โปรแกรมที่ใช้เปิดเว็บเพจ หรือเรียกสั้นๆว่า “[บราวเซอร์ มีหน้าที่ติดต่อเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อขอข้อมูลที่ต้องการมาแสดงที่หน้าจอของโปรแกรม เช่น โปรแกรม Internet Explorer (IE) , โปรแกรม Netscape Navigator , โปรแกรม Open , โปรแกรม Firefox  เป็นค้น

10. URL (Uniform Resource Locator) คืออะไร ยกตัวอย่างรูปแบบ URL
ตอบ        URL (Uniform Resource Locator) คือ การเข้าถึงข้อมูลใด ๆ ในอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นเว็บเพจ หรือไฟล์ประเภทอื่นจะต้องรู้ที่อยู่ (Address) ของข้อมูลนั้น
                ตัวอย่าง URL
                1. http://www.thonburi.ac.th/
                2. http://www.workpoint.co.th/
                3. http://www.sanook.com/

ตอนที่ 2
1. “ไอพีแอดเดรสในอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนข้อใด
ตอบ        . เลขที่บ้าน
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ตรงกับข้อใด
ตอบ        . เครื่องแม่ข่าย
3. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต
ตอบ        ข. ส่งพัสดุภัณฑ์
4. เวิลด์ไวด์เว็บเป็นแหล่งข้อมูลขนาดยักษ์จะพบข้อมูลประเภทใดบ้าง
ตอบ        ง. ถูกหมดทุกข้อ
5. ชื่อที่อยู่ของ E-mail เรียกกันว่าอย่างไร
ตอบ        ค. E-mail Address
6. FTP ย่อมาจากข้อใด
ตอบ        ง. File Transfer Protocol
7. ข้อใดคือความหมายของ FTP
ตอบ        ค. การโอนย้ายข้อมูล
8. การคัดลอกข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องผู้ใช้หมายถึงข้อใด
ตอบ        ข. Download
9. การคัดลอกข้อมูลในเครื่องของผู้ใช้ไปไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ หมายถึงข้อใด
ตอบ        ก. Upload

10. ข้อใดหมายถึงการให้บริการแบบทางไกล
ตอบ        ค. Remote
11. เว็บเพจ (Web Page) หมายถึงข้อใด
ตอบ        ข. ไฟล์ 1 ไฟล์ คือเว็บเพจ 1 หน้า
12. เว็บไซต์ (Web Site) หมายถึงข้อใด
ตอบ        ก. กลุ่มของเว็บเพจหลายหน้า
13. โฮมเพจ (Homepage) หมายถึงข้อใด
ตอบ        ค. เว็บเพจหน้าแรก
14. เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือข้อใด
ตอบ        ง.ทำหน้าที่เก็บเว็บไซต์
15. ข้อใดคือหน้าที่หลักของโปรแกรมเว็บบราวเซอร์
ตอบ        ง. ถูกทุกข้อ

วิชาออกเเบบพัฒนาเว็บ

        










วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

แบบฝึกหัดบทที่ 1

1. จงอธิบายวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างละเอียด
ตอบ       ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล (Data Processing Age) มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ (Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (management Information System : MIS) มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ

ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ

ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

2. จงระบุองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ        องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้คือ

1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (
Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546: 4)

ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ

อุปกรณ์รับข้อมูล (
Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์, เครื่องตรวจกวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader)

อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล

หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล

หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล

หน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคต

3. คุณลักษณะของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีมีอะไรบ้าง
ตอบ        ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
§  เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
§  เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
§  เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
§  เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น

4. จงบอกประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศมาอย่างน้อย 5 อย่าง  
ตอบ        1.  เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่ต้องทำงานแข่งขันกับเวลาจึงนำเอาเทคโนโลยีระบบสื่อสารมาประยุกต์ใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ควบคุมการปิด-เปิดไฟฟ้าในบ้านผ่านโทรศัพท์ ควบคุมระบบปรับอากาศ ตรวจสอบหมายเลขเรียกเข้าของโทรศัพท์ในบ้าน เป็นต้น
                  2. ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศที่กระจายไปทั่วทุกแห่งทำให้ทุกคนที่สนใจมีโอกาสในการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกัน เช่น ระบบการเรียนการสอนทางไกล ระบบอินเทอร์เน็ตตำบล ช่วยให้เกษตรกรรู้ความเคลื่อนไหวของราคาผลผลิตในแต่ละวัน แพทย์สามารถให้การรักษาพยาบาลกับผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลโดยตรวจอาการผ่านกล้องวีวิโอจากระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
                  3. ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในโรงเรียนระบบคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายด้านการศึกษาต่าง ๆ เช่น โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทยผ่านหมายเลขพระราชทาน 1509 หรือ SchoolNet ทำให้ทั้งนักเรียนและครูสามารถสืบค้นข้อมูลและสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการเรียนการสอนช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก
                  4. ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่าง เช่น ป่า เขา แม่น้ำและทะเลถูกทำลายไปโดยฝีมือมนุษย์มากมาย ในการดูแลและบำรุงรักษาต้องใช้เทคโนโลยีในการเก็บข้อมูล เช่น ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมตรวจสอบสภาพการถูกทำลาย การตรวจสอบเขตป่าสงวนด้วยเครื่องบอกตำแหหน่งผ่านดาวเทียมทำให้ทราบว่าที่ใดอยู่ในเขตพื้นที่สงวนการเก็บข้อมูลและตรวจวัดคุณภาพของน้ำในแม่น้ำลำคลอง และทะเลตลอดจนวัดมลภาวะในอากาศทำให้ทราบว่ามีที่ใดปล่อยสารพิษออกมาสู่สภาพแวดล้อม เป็นต้น
                  5. ประโยชน์ต่อการป้องกันประเทศ อาวุธที่ใช้ทางการทหารยุคใหม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น เช่น จรวดที่สามารถวิ่งเข้าหาเป้าหมายได้อย่างอัตโนมัติ ระบบการเฝ้าระวังการถูกรุกรานที่ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
                  6. ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมและพานิชกรรม การผลิตสินค้าและการจำหน่ายสินค้ามีการแข่งขันกันในตลาดโลกอย่างมาก เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ผลิตสินค้าได้จำนวนมากและราคาถูกลง การจำหน่ายสินค้าต้องกระจายสารสนเทศของสินค้าและการบริการไปยังลูกค้าเพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกรวดเร็ว

5. จงบอกภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศความความเข้าใจ
ตอบ       อันตรายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศได้ก้าวเข้ามาในชีวิตประจำของมนุษย์มากขึ้น ทั้งในระดับบุคคลจนถึงองค์กร และระดับชาติ เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันดีเกี่ยวกับประโยชน์ต่างๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่สิ่งใดก็ตามไม่ใช่มีเฉพาะด้านดีเพียงด้านเดียว เทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เช่นกัน ย่อมมีผลกระทบต่อมนุษย์และองค์กรในด้านร้ายได้เช่นกัน โดยส่วนมากอันตรายจากไอที มักจะเกี่ยวข้องกับ
                การขัดขวางการใช้ไอทีในเวลาที่ต้องการใช้งาน
                การลิดรอนระบบ
สารสนเทศ
                การสร้าง/ส่งข้อมูลลวง
                การล้วงข้อมูลมาใช้งาน
ซึ่งอันตรายดังกล่าวมีผลกระทบได้ตั้งแต่ระดับเล็ก จนถึงระดับชาติได้ ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวสามารถกระทำได้ทั้งจากระดับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบการติดต่อสื่อสาร และบุคคลภายในองค์กรนั้นๆ โดยสามารถสรุปรูปแบบการก่อเหตุให้เกิดอันตรายได้ดังนี้
ผู้ใช้เถื่อน - ได้แก่ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิในการเข้าถึงและใช้งานระบบ แต่อาศัยความสามารถพิเศษทางด้าน
เทคโนโลยีทำการเจาะระบบป้องกันต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลักลอบล้วงข้อมูล ทั้งที่เป็นความลับและไม่ใช่ความลับ และอาจจะก่อความเสียหายให้กับข้อมูลทั้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูล จนถึงการลบข้อมูล และการทำลายระบบ
ผู้ใช้ภายในระบบ - ได้แก่ผู้ใช้ที่มีสิทธิในระดับ แต่เป็นสายหรือทำตัวเป็นผู้ก่อการร้ายเสียเอง

6. ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
ตอบ        จากงานวิจัยของ Whittaker (1999: 23) พบว่า ปัจจัยของความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การ มีสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่
                1. การขาดการวางแผนที่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนจัดการความเสี่ยงไม่ดีพอ ยิ่งองค์การมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด การจัดการความเสี่ยงย่อมจะมีความสำคัญมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มสูงขึ้น
          2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในองค์การจำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจหรืองานที่องค์การดำเนินอยู่ หากเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่สอดรับกับความต้องการขององค์การแล้วจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ
        3. การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งานในองค์กร หากขาดซึ่งความสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงแล้วก็ถือว่าล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น การได้รับความมั่นใจจากผู้บริหารระดับสูงเป็นก้าวย่างที่สำคัญและจำเป็นที่จะทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การประสบความสำเร็จ
        สำหรับสาเหตุของความล้มเหลวอื่น ๆ ที่พบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เช่น ใช้เวลาในการดำเนินการมากเกินไป (Schedule overruns), นำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยหรือยังไม่ผ่านการพิสูจน์มาใช้งาน (New or unproven technology), ประเมินแผนความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ถูกต้อง, ผู้จัดจำหน่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Vendor) ที่องค์การซื้อมาใช้งานไม่มีประสิทธิภาพและขาดความรับผิดชอบ และระยะเวลาของการพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งปี

                นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านผู้ใช้งานนั้น อาจสรุปได้ดังนี้ คือ
                1. ความกลัวการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ผู้คนกลัวที่จะเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งกลัวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาลดบทบาทและความสำคัญในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบของตนให้ลดน้อยลง จนทำให้ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                2. การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก หากไม่มั่นติดตามอย่างสม่ำเสมอแล้วจะทำให้กลายเป็นคนล้าหลังและตกขอบ จนเกิดสภาวะชะงักงันในการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                3. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึง ทำให้ขาดความเสมอภาคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเกิดการใช้กระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้เป็นอุปสรรคในการใช้งานด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น ระบบโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ฯลฯ

เว็บที่น่าสนใจ

http://www.youtube.com/
http://www.facebook.com/
http://www.google.com/